Over 10 years we helping companies reach their financial and branding goals. Onum is a values-driven SEO agency dedicated.

CONTACTS
News All

บุหรี่ ไฟฟ้า ผิด กฎหมาย ไหม

บุหรี่ไฟฟ้า ขายบุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ ไฟฟ้า ผิด กฎหมาย ไหม

บุหรี่ ไฟฟ้า ผิด กฎหมาย ไหม

ถามมาตอบไป บุหรี่ ไฟฟ้า ผิด กฎหมาย ไหม กฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย

บุหรี่ ไฟฟ้า ผิด กฎหมาย ไหม ภายใต้บริบทของกฎหมายในไทยนั้น บุหรี่ไฟฟ้าถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายที่ถูกควบคุมอย่างเด็ดขาด ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้าในราชอาณาจักรตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2557 ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5เท่าของสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงริบสินค้า และพาหนะที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าด้วย เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่เสียภาษี เพราะฉะนั้นสินค้าที่ไม่เสียภาษี จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469

นอกจากนี้บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นสินค้าที่ห้ามขาย หรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 ที่กำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไปให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำผิดเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขายต้องรับโทษสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 10ปี ปรับไม่เกิน 1,000,00บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้ร่างพ.ร.บ.ควบคุมยาสูบนั้น ได้มีการเพิ่มคำนิยาม “การสื่อสารการตลาด หมายความว่า การกระทำในรูปแบบต่าง ๆ โดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การสร้างข่าว การเผยแพร่ข้าวสาร การส่งเสริมการขาย การแสดง ณ จุดขาย การตลาดแบบตรง การขายหรือส่งเสริมการขายโดยใช้บุคคลเป็นการเฉพาะ และการตลาดในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขายสินค้าหรือบริการ หรือสร้างภาพลักษณ์“ เพื่อให้ครอบคลุมไม่ให้เกิดการส่งเสริมการขายไม่ว่าทางใดทางหนึ่งให้เกิดขึ้น

การห้ามผลิต ห้ามนำเข้า และห้ามจำหน่าย ทั้งรวมไปถึงห้ามโฆษณาหรือโปรโมท ทั้งนี้รวมไปถึงการผลิตMODขึ้นมาเอง หรือน้ำยาเพื่อเอาไว้ใช้เองก็ถือเป็นความผิดที่ขัดกับประกาศของกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวข้องไปถึงประกาศพ.ร.บ.ยาสูบอีกด้วย ซึ่งต่อให้คนที่สูบ หรือมีไว้ครอบครองเพื่อสูบ ไม่ใช่คนนำเข้า หรือจำหน่าย ในทางกฎหมายนั้นถือว่าผู้ที่มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครองจำเป็นจะต้องรู้ว่าการนำเข้ามาของบุหรี่นั้นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงถือว่าคนไทยทุกคนตั้งแต่เกิดออกมาจนกระทั่งเสียชีวิต ต้องรู้ว่าตามกฎหมายแล้วนั้นบุหรี่ไฟฟ้าถูกห้ามนำเข้าเด็ดขาด

ประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้นเกี่ยวข้องไปถึงกฎหมายศุลกากรที่บัญญัติว่า มาตรา ๒๔๔ ผู้ใดนำของที่ผ่านหรือกำลังผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือส่งของดังกล่าวออกไปนอกราชอาณาจักร หรือนำเข้าเพื่อการผ่านหรือการถ่ายลำโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับข้องนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถริบของนั้นได้ ไม่จะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษา และพ.ร.บ.ศุลกากร บัญญัติไว้ว่า มาตรา ๒๔๖ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนพึงรู้ว่าเป็นอันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา ๒๔๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตามผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีความพยายามที่จะยื่นเรื่องเรียกร้องงขอให้รัฐเปลี่ยนจากการแบนแบบเบ็ดเสร็จมาเป็นการควบคุมด้วยมาตราการที่เหมาะสมแทน โดยให้เหตุผลว่าการแบนแบบเบ็ดเสร็จส่งผลทำให้เกิดการซื้อขายในตลาดมืด และไม่สามารถควบคุมป้องกันการซื้อขายให้กับเยาวชนได้ และไม่สามารถดูแลมาตราฐานความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้าได้ ซึ่งการควบคุมด้วยมาตราการที่เหมาะสมนั้นจะสามารถเข้าถึงการป้องกันความปลอดภัยและการเข้าถึงของเยาวชนได้อย่างครอบคลุมมากกว่า ในต่างประเทศนั้นมีเพียงไม่กี่ประเทศที่เลือกใช้มาตรการแบนแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งมีมากกว่า 160ประเทศที่เลือกใช้มาตราการควบคุม